โรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อเป็นเรื่องใกล้ตัว
อย่ารอหากคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อศอกเทียม

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อศอกเทียม (Total elbow arthroplasty) เป็นการผ่าตัดเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีข้อเสื่อมในระยะสุดท้าย ที่ผิวข้อถูกทำลายไปมาก มีอาการเจ็บปวดทรมาน และไม่สามารถเหยียดงอข้อศอกเพื่อประกอบกิจวัตรประจำวันตามปกติได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดและทำให้การทำงานของข้อศอกกลับมาเป็นปกติ ผู้ที่เหมาะสมต่อการผ่าตัดชนิดนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) ที่มีข้อเสื่อมในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยข้อเสื่อมที่เกิดภายหลังกระดูกข้อศอกหัก (Traumatic arthritis) รวมถึงผู้ป่วยที่มีข้อเสื่อมที่เกิดภายหลังการผ่าตัดอื่นที่บริเวณข้อศอก ทั้งนี้พบว่าผู้ป่วยที่มีปัญหาที่บริเวณข้อศอกจนต้องผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อศอกเทียมนั้นพบมากที่สุดในกลุ่มของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

เตรียมพร้อมก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อศอกเทียม

ข้อพิจารณาก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อศอกเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อศอกเทียมเป็นการผ่าตัดที่ช่วยให้โอกาสแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเสื่อมที่บริเวณข้อศอกให้กลับมาใช้งานข้อศอกได้อย่างดีพอสมควร ลดความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วย ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อศอกมีความมั่นคงสูงขึ้น ทั้งนี้ถึงแม้ว่าข้อศอกเทียมจะไม่เหมือนข้อศอกจริงก่อนที่จะมีข้อเสื่อม แต่ข้อศอกเทียมก็สามารถใช้งานได้ดีใกล้เคียงกับข้อศอกจริงและสามารถเหยียดงอได้โดยไม่เจ็บปวด ทั้งนี้ผลการผ่าตัดจะดีมากน้อยเพียงใด นอกจากขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำผ่าตัดแล้ว ความตั้งใจที่จะปฎิบัติตัวภายหลังผ่าตัดของผู้ป่วยก็มีความสำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อศอกเทียม ผู้ป่วยควรเตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงพร้อมสำหรับการผ่าตัด ควรดงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 เดือนก่อนและหลังการผ่าตัด แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยพร้อมสำหรับการผ่าตัดนี้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำ รวมถึงประวัติการแพ้ยาและอาหาร ผู้ป่วยควรเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของเวลาหลังการผ่าตัดเนื่องจากการทำงานของข้อศอกอาจจะไม่สะดวกมากเท่าที่ควรในระยะเวลาหลังผ่าตัดประมาณ 1- 3 เดือน

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อศอกเทียมทำอย่างไร

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อศอกเทียมเป็นการผ่าตัดที่ต้องการความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำผ่าตัดเป็นอย่างสูง เพราะถ้าผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยในแต่ละขั้นตอนของการทำผ่าตัดจะส่งผลเสียต่อผลของการผ่าตัด

แพทย์จะลงแผลผ่าตัดยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตรที่บริเวณข้อศอกด้านหลัง แพทย์จะตกแต่งกระดูกข้อศอกเพื่อให้รับพอดีกับข้อศอกเทียมที่ทำมาจากโลหะชนิดพิเศษ มีลักษณะคล้ายบานพับ หลังจากนั้นแพทย์จะใส่ข้อศอกเทียมเข้าไว้ในแกนกระดูกข้อศอกและยึดติดไว้ด้วยซีเมนต์พิเศษทางการแพทย์ หลังจากนั้นแพทย์จะทำการทดสอบความมั่นคงของข้อ มุมงอเหยียดให้ได้เป็นอย่างดี แล้วจะทำการปิดแผลผ่าตัดให้เรียบร้อย รวมระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 2 ชั่วโมง

ข้อศอกปกติ ข้อเสื่อมจากโรครูมาตอยด์ ข้อศอกเทียม

ข้อสะโพกปกติ

ถ้าพูดถึงข้อสะโพกบางคนยังอาจจะนึกไม่ออกว่ามันหน้าตาเป็นอย่างไรและทำหน้าที่อะไร บอกได้เลยว่าข้อสะโพกเป็นข้อหนึ่งในร่างกายที่ต้องรับน้ำหนักของตัวเรามากที่สุด ข้อสะโพกเป็นรอยต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกต้นขา ประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญ อันได้แก่ส่วนที่เป็นหัวกระดูกสะโพก (Femoral head) มีรูปร่างกลมเหมือนลูกบอล และเป็นส่วนที่อยู่บนสุดของกระดูกต้นขา (Femur) ส่วนของหัวกระดูกจะอยู่พอดีภายในส่วนที่เรียกว่า เบ้าสะโพก (Acetabulum) ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะครึ่งวงกลมอยู่ในกระดูกเชิงกราน ทั้งหัวกระดูกสะโพกและเบ้าสะโพกจะมีผิวกระดูกอ่อน (Cartilage) เคลือบอยู่ ผิวกระดูกอ่อนนี้มีลักษณะเรียบเป็นมันสีขาวคล้ายไข่มุก ทำให้เวลาที่มีการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกทั้งขณะที่เราเดินหรือลุกนั่งเป็นไปอย่างราบรื่นและเราจะไม่รู้สึกเจ็บปวด

นอกจากนี้ข้อสะโพกยังมีส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อเป็นส่วนประกอบ ส่วนแรกเป็นเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างหัวสะโพกและเบ้าสะโพก ช่วยให้ข้อมีความมั่นคง อีกส่วนมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบาง (synovial membrane) คลุมบริเวณทั้งหมดของข้อสะโพก ในข้อปกติภายในเนื้อเยื่อนี้มีของเหลวที่ทำหน้าที่หล่อลื่นช่วยให้ข้อเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น

รู้จักข้อเข่า

ข้อเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีลักษณะคล้ายบานพับประตู ประกอบไปด้วยส่วนของกระดูกแข็ง 3 ชิ้น คือ ส่วนปลายของกระดูกต้นขา (femur), ส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (tibia) และกระดูกลูกสะบ้า (patellar) เป็นโครงสร้างหลัก ยึดอยู่ด้วยกันโดยมีเส้นเอ็น, หมอนรองกระดูกและกล้ามเนื้ออยู่ล้อมรอบ ช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหว รองรับและกระจายน้ำหนักในขณะที่คุณยืนหรือเดิน ส่วนที่มีการเคลื่อนไหวสัมผัสกันจะมีผิวกระดูกอ่อน โดยมีส่วนประกอบหลักส่วนใหญคือ น้ำ ซึ่งถูกดูดชับอยู่ในโครงสร้างที่คล้ายกับฟองน้ำ ที่มีส่วนประกอบขึ้นจากเส้นใยโครงข่ายที่เรียกว่าโปรติโอไกลเคน (Proteoglycan) และคอลลาเจน (Collagen) ผิวกระดูกอ่อนที่สมบูรณ์ดีจะมีสีขาว ลักษณะเรียบเป็นมันคล้ายผิวไข่มุก ผิวกระดูกอ่อนจะคลุมอยู่บริเวณปลายของกระดูกแข็งอีกที

เนื่องจากที่ปลายกระดูกแข็งมีเส้นประสาทอยู่มาก ถ้าปราศจากผิวกระดูกอ่อน กระดูกแข็งที่กดทับและเสียดสีกันในขณะที่มีการงอเหยียดเข่า ยืนหรือเดินลงน้ำหนัก จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด กระดูกอ่อนจึงทำหน้าที่เหมือนเป็นหมวกกันน็อกป้องกันไม่ให้กระดูกแข็งที่มีเส้นประสาทอยู่มาชนกัน ทำให้ปกติแล้วเวลาที่มีการงอเหยียดเข่าและเดินลงน้ำหนักคุณจะไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือขัดในเข่าเลย

นอกจากนี้บริเวณข้อเข่ายังมีสิ่งที่มีลักษณะคล้ายถุงน้ำห่อหุ้มอยู่ ภายในจะมีน้ำหล่อลื่น มีสีใส แต่มีความหนืด ปริมาตรประมาณ 1 มิลลิลิตร ทำหน้าที่เหมือนเป็นจาระบี ช่วยในการหล่อลื่นในขณะเคลื่อนไหว งอหรือเหยียดข้อ อีกทั้งยังช่วยในการรองรับและกระจายน้ำหนักด้วย

taping sport
ผ้าเทปที่มีความยืดหยุ่น โดย ดร.เคนโซ คาเซ่ นักบำบัดทางด้านการจัดกระดูกและฝังเข็ม เพื่อรักษาและสนับสนุนการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก มี เทปพยุงกล้ามเนื้อ, เทปบำบัด ที่จะช่วยแก้ออฟฟิศซินโดรม แก้อาการปวดไหล่ ซัพพอร์ตเข่า ติดต่อคอร์สเรียนติดเทปบำบัด ได้เลย
ฟิตเนส ปิ่นเกล้า
สร้างสุขภาพดีให้อยู่ในมือคุณด้วยยิมฟิตเนส ปิ่นเกล้าที่พร้อมช่วยคุณออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพกับทางเลือกที่หลากหลายและยืดหยุ่น พร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัย สิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน และมีเทรนเนอร์ผู้เชี่ยวชาญ คลาสพิลาทิส, คลาสเต้น ออกกําลังกาย, ปีนผาจำลอง กรุงเทพ คอยแนะนำ
คลินิกกายภาพบำบัด บางนา
เราให้บริการรักษากายภาพบำบัด สำหรับผู้มีอาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ติด ออฟฟิศซินโดรม โดยมุ่งเน้นการใช้หัตถการและการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้ป่วยหายปวดได้อย่างยั่งยืน มีทั้งหมด 3 สาขา มีสาขาบางนา สาขาบางแค-ราชพฤกษ์ และสาขาดอนเมือง
รักษาอาการเท้าผิดรูป
ผู้เชี่ยวชาญด้านกายอุปกรณ์ สามารถปรึกษาปัญหาอาการปวด ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย รักษาอาการปวดเท้า ปวดหลัง อาการออฟฟิศซินโดรม ออฟฟิศซินโดรม รักษาโรครองช้ำ โรคเท้าแบน โดยใช้แผ่นรองเท้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมและเครื่องมือนำเข้ามารักษาอาการปวดของคุณ เป็นแผ่นรองเท้า พื้นรองเท้าสุขภาพ ให้คำปรึกษาฟรี

เวชศาสตร์ฟื้นฟูในกลุ่มอาการปวดจากระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก
(Rehabilitation in Musculoskeletal pain)

อาการปวดจากระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก จัดเป็นปัญหาที่สำคัญ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมเป็นอย่างมาก พบอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 10-25 ในประชากรทั่วไป และเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โดยพบว่าอุบัติการณ์มากถึงร้อยละ 40 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี สาเหตุของโรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ปวดหลัง (back pain) กระดูกบาง (osteoporosis) เป็นต้น โดยผลจากกลุ่มอาการปวดดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบต่อความสามารถในการทำงาน การทำกิจวัตรประจำวัน สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก จึงได้มีข้อตกลงร่วมกันให้ปี ค.ศ. 2000-2010 เป็นทศวรรษโรคข้อ (Bone and Joint Decade 2000-2010) โดยการสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมป้องกันโดยความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ

ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในด้านการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู รวมถึงการให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีความสนใจทางด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดจากระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก ในกลุ่มประชากรไทย โดยความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ ทั้งแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักกายอุปกรณ์ และพยาบาลฟื้นฟู

หลักการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

จุดประสงค์
1. ลดอาการปวด อักเสบ
2. ลดอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเรื้อรัง (chronic pain)
3. ลดการเกิดอาการปวดซ้ำ (recurrence)
4. ลดภาวะทุพพลภาพที่อาจเกิดขึ้น
5. เพิ่มคุณภาพชีวิต

แนวทางการรักษาฟื้นฟู
1. การใช้ความร้อนเย็นเพื่อลดปวด
2. การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดปวด
3. การทำกายภาพบำบัดด้วยการดัด การดึง การนวด
4. การออกกำลังบริหารเพื่อการรักษา (Therapeutic exercise)
5. การใช้กายอุปกรณ์เสริม (Orthoses)
6. การจัดท่าทางในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics)

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้คอมพิวเตอร์นำร่อง

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty; TKA) เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมในระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถ ประสบความสำเร็จได้โดยวิธีการรักษาอื่นแล้ว โดยแพทย์จะนำผิวกระดูกอ่อน (cartilage) ที่เสื่อมสภาพแล้วออก หลังจากนั้นจะนำข้อเข่าเทียมซึ่งทำมาจากโลหะ และโพลีเอททิลีน (polyethylene) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะมาใส่แทนที่ แล้วยึดด้วยซีเมนต์พิเศษ ร่วมกับการจัดแกนขา (alignment) ให้ถูกต้อง ทำให้ภายหลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่า ได้เป็นธรรมชาติและเดินลงน้ำหนักได้โดยปราศจากความเจ็บปวด

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาช่วยผ่าตัด (Computer-Assisted Surgery-Total Knee Arthroplasty; CAS-TKA) เพื่อหวังผลในแง่การวางตำแหน่งข้อเทียมได้แม่นยำขึ้น, ลดปริมาณการเสียเลือดจากการผ่าตัด รวมทั้งลดโอกาสเกิด fat embolism ลง แต่ก็มีข้อถกเถียงกันในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด (operative time) ที่นานขึ้น, ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ของแพทย์ (learning curve)

History of Computer-Assisted Surgery
การผ่าตัดโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในการผ่าตัดทางสมอง(Neurosurgery) เมื่อปี ค.ศ. 19801 หลังจากนั้นในราว ค.ศ. 1990 จึงมีการใช้ในการผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ (Orthopedics Surgery)2 โดยเริ่มจากการผ่าตัดกระดูกสันหลัง (spine surgery) หลังจากนั้นจึงค่อยเริ่มใช้ในการผ่าตัดข้อสะโพก (hip surgery) และข้อเข่า (knee surgery) ตามลำดับ โดยในยุคเริ่มต้นนั้นเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic-assisted TKA) แต่เนื่องจากความใหญ่โตและซับซ้อนของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดทำให้ไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่งในช่วง 10 ปีหลังที่ผ่านมาการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าในรูปแบบของคอมพิวเตอร์นำร่อง (Computer-Navigated TKA) ที่มีขนาดและความซับซ้อนน้อยลงรวมถึงแพทย์มีส่วนร่วมในการผ่าตัดมากขึ้นจึงกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง

The Rationale for Computer-Assisted Total Knee Arthroplasty
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีมาตรฐานดั้งเดิม (Standard Total Knee Arthroplasty) เป็นการผ่าตัดที่ทำกันมานานกว่า 30-40 ปี โดยที่ผลของการผ่าตัดก็ดีเป็นที่น่าพอใจ มีอัตราความสำเร็จ 90-95% ที่ 10-15 ปี3-5 อย่างไรก็ตามสาเหตุหลักที่ทำให้อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมสั้นลงคือความผิดพลาดจากการวางตำแหน่งข้อเทียม (alignment errors and malposition of implants) โดย Fehring และคณะ6 พบว่าการวางตำแหน่งข้อเทียมผิดพลาดที่ทำให้แกนขา (alignment) ผิดไปจากปกติมากกว่า 3 องศา จะมีผลทำให้ข้อเทียมหลุดหลวม (loosening) ถึง 24% ภายใน 3 ปี และแพทย์ที่ใช้เครื่องมือปกติ (conventional instrument, mechanical alignment system) ในการทำผ่าตัดมีอัตราความผิดพลาดที่ทำให้แกนขาผิดไปจากปกติมากกว่า 3 องศาถึง 10%7 ดังนั้นจึงมีความพยายามในการเพิ่มความสำเร็จและลดความผิดพลาดของการผ่าตัดโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด8-13 นอกจากนี้แล้วเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเจาะโพรงกระดูกต้นขาเพื่อใส่เครื่องมือช่วยตัดเหมือนการผ่าตัดแบบมาตรฐานจึงลดปริมาณการเสียเลือด14 รวมทั้งลดโอกาสเกิด fat embolism ลง15-16

Classification and Characteristics of Computer-Assisted Total Knee Arthroplasty
Picard et al.17 แบ่ง classification ของ CAS-TKA ตามความมากน้อยในการมีส่วนร่วมผ่าตัดของแพทย์ออกเป็น แบบที่แพทย์มีส่วนร่วมในการผ่าตัดน้อย (Active system), ปานกลาง (Semiactive system) และมาก (Passive system) แล้วแบ่งตามวิธีการนำข้อมูลภาพ (Image) เข้ามาใช้ ออกเป็นแบบต้องมีข้อมูลภาพก่อนทำผ่าตัด (Pre-operative image; CT scan ), แบบต้องมีข้อมูลภาพระหว่างที่ทำผ่าตัด(Intra-operative image; Fluoroscopy) และ แบบที่ไม่ต้องมีข้อมูลภาพเลยแต่อาศัยจากข้อมูลที่รวบรวมไว้เป็นจำนวนมากใน software ของคอมพิวเตอร์(Image-Free) ทำให้เกิดระบบขึ้นทั้งหมด 9 ระบบ (3×3) ดังตารางที่ 1 โดยแบบที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ Passive system ร่วมกับ Image-Free หรือ “Image-Free Navigation system” (Computer-Navigated TKA) นั่นเอง

Dance Studio Bangkok
We, are professional in teaching dances, as we have all experiences in teaching dances, and entering into many professional events both in the country and abroad. Our strength with teachers who are professional athletes
Rice Paper Salad Rolls
The Narrow Type Made From Rice Flour Has A Narrow Shape, Not Thick, Similar To Linguine / Fettuccine. Vermicelli Has A Tiny And Round Shape Similar To Cappellini. They Both Are Suitable For Serving With Clear Broth. Or Cooked With Light Sauce, So The Sauce Can Mix Thoroughly With The Noodles. Such As The Pad Thai, Pho Or Japanese Salad.​

thaijoints.com - หมวดหมู่ สุขภาพ

สนใจติดต่อโฆษณา support@geniusgraphic.com

@2024 thaijoints.com